สังเวชนียสถาน 4 รีวิวโปรแกรมทัวร์อินเดียแบบเห็นภาพแน่นอนก่อนไป ตอนที่ 2 กุสินารา ลุมพินี

ทัวร์สังเวชนียสถาน 4 รีวิว โปรแกรมทัวร์

สังเวชนียสถาน 4 รีวิวโปรแกรมทัวร์อินเดียแบบเห็นภาพแน่นอนก่อนไป ตอนที่ 2 กุสินารา ลุมพินี

ทัวร์สังเวชนียสถาน 4 รีวิว  ตอนที่แล้วเราไปกันที่  ราชคฤห์ ไวสาลีราชคฤห์ ไวสาลี วันนี้เราจะเดินทางต่อไปยังสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า สาลวโนทยาน กุสินารา มีอะไรว้าวๆ จะไปเจออะไรบ้าง จะได้เตรียมตัวถูกก่อนไป ไปอ่านกันเลยค่ะ 

หมายเหตุ blog นี้เป็นเรื่องรวมๆกันจากการไปทัวร์สังเวชนียสถาน 4 ตำบลหลายๆรอบ อันนี้เล่าให้ฟังถึงการเดินทาง บรรยากาศ ส่วนสถานการณ์หน้างานอาจปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมค่ะ

 

วันที่ 3 :  กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน

เมื่อวานเดินทางมาถึงกุสินาราก็ค่ำแล้ว มิชชั่นเดียวของทุกคนคือกินให้อิ่ม หลับให้สนิทและตื่นให้ตรงเวลาก็แหม เวลาเป็นเงินเป็นทองนะคะ ไม่มีอะไรหรอกค่ะ ภารกิจหลักของกุสินาราคือเราจะช่วยแขกเปิดสถูป 5555+

 

รอเข้าสาลวโนทยาน สถานที่ปรินิพพาน

 

สังเวชนียสถาน 4 ตำบลที่อินเดียและเนปาล เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของคนทั่วโลก นอกจากชาวพุทธไทยยังมีเพื่อนบ้าน ลาว พม่า กัมพูชา และบลาๆอีกมากมาย ในมุมของลูกทัวร์คือเราก็มากราบบูชากัน แต่ในมุมหัวหน้าทัวร์คือทำอย่างไรให้ลูกทัวร์ได้ใช้เวลาในแต่ละสถานที่ได้คุ้มค่ามากที่สุด ทุกอย่างคือการบริหารจัดการค่ะ จัดการตั้งแต่จำกัดจำนวนสมาชิกแต่ละรอบไม่ให้เยอะเกิน ไปกันที 40-50 คนงี้ มันจะเอาเวลาจากไหนมาดื่มด่ำ ต่างคนต่างแย่งกันกราบ

 

เมื่อถึงหน้างานก็เช่นกัน บางที่ไม่ได้เป็นลานกว้าง เป็นสถูปมีเนื้อที่จำกัด จะทำอย่างไรให้คณะเราได้ใช้เวลาได้พอเหมาะ พอดี ไม่ชะโงก เร่งรีบและไม่ยืดยาด กั๊กไว้แต่คณะเราคณะเดียว ทางสายกลางค่ะแบ่งๆกันไป ทุกคนก็อยากมากราบอ่ะเนอะ

 

ถวายผ้าห่มองค์พระปางปรินิพพาน สาลวโนทยาน สถานที่ปรินิพพาน

ถวายผ้าห่มปางปรินิพพาน ทำพิธีร่วมกันของคณะก่อน แล้วให้เวลาอิสระปฏิบัติส่วนตัวค่ะ

 

สาลวโนทยาน สถานที่ปรินิพพาน สถานที่ดั้งเดิมก็คือป่าค่ะ แต่ชาวพุทธเราก็มาสร้างสถูปครอบไว้ ที่สถานที่ปรินิพพานนี้เจ้าภาพสร้างคือพม่า ด้านในสถูปจะมีพระพุทธรูปปางปรินิพพานประดิษฐานอยู่ เปรียบเสมือนย้อนเวลากับไป2500ปีก่อน ตอนพระพุทธเจ้าท่านละสังขาร

 

ไปแต่เช้า รอจังหวะเหมาะเราก็เข้าไปทำพิธีถวายผ้าห่ม ตั้งจิตตั้งใจกันอย่างดี ไปสวกมนต์กราบสักการะ ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชากันสักพักแล้วก็เดินทางต่อไปยังอีกสถานที่สำคัญ มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ  

 

มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ อยู่ห่างออกไปจากสถานที่ปรินิพานประมาณ  5 นาที ขึ้นรถมาก้นยังไม่ทันอุ่น อ้าว ลงอีกแล้ว ดังนั้นไม่ต้องหยิบของ เข้าที่นัง เตรียมตัว ระวัง ลุกจ้า

 

มกุฎพันธนเจดีย์ เป็นซากสถูปกลางแจ้ง ที่บอกว่าเป็นซากก็คือเป็นอิฐกองๆไว้ตามรูปเลยค่ะ ไม่มีข้อบ่งชี้เลยว่านี่คือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้านะจ๊ะ ใครมาตามรอยพระพุทธเจ้าที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบลเอง อาจนั่งรถผ่านไปได้ง่ายๆเพราะมันไม่มีอะไรโดดเด่นให้สังเกตุเลยว่านี่คือสถานที่สำคัญนะ

มกุฏพันธเจดีย์ สถานี่ถวายพระเพลิงพระบรมสรีระ

มกุฏพันธนเจดีย์ ชื่อว่าเจดีย์แต่มีแค่นี้ค่ะ ไปเองอาจผ่านไปเลยไม่แวะเพราะไม่เห็น

หลังจากดับขันธ์ ละร่างปรินิพพานไปแล้ว เหล่ากษัตริย์ก็มาทำพิธีถวายพระเพลิงกันที่นี่ เรียบง่ายไม่ต้องมีเมรุอะไรใหญ่โต เผากลางแจ้งเลยค่ะ แต่กว่าจะเผาได้ก็รอพระมหากัสสปมาก่อน ไฟจึงจะจุดติด  เราก็ทำพิธีกราบสักการะ บูชาสถานที่กัน ถวายดอกไม้ ตั้งจิตบูชากันตามจริต ตามสะดวก

 

ทัวร์สังเวชนียสถาน 4 ตำบลทุกรอบจะนิมนต์พระอ.วิทยากรบรรยายและนำสวดในสถานที่ต่างๆ แต่นั่นคือพิธีกลาง แนะนำว่าในแต่ละสถานที่หากท่านใดอยากตั้งจิต ตั้งมั่น อธิษฐานในเรื่องใด คิดไปก่อนค่ะ ว่าเราตั้งใจให้ชีวิต แนวคิด มุมมอง เรื่องราวต่างๆในชีวิตเราไปในทางไหน แล้วไปกราบสักการะบูชา ตั้งจิตอธิษฐานส่วนตัวกันได้ในทุกๆที่ ฟ้าจัดสรรเวลาส่วนตัวในทุกๆที่อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์หน้างาน เพราะการไปสังเวชนียสถาน 4 ตำบลนั้นเป็นโอกาสสำคัญในชีวิต จะไปแป๊บๆกราบๆไม่ได้หรอกค่ะ อุตส่าห์ไปกราบพระพุทธเจ้าถึงอินเดีย ต้องมีเวลาตั้งจิตส่วนตัวกันนิดนึง

มาแสวงบุญอินเดีย แค่ห้องน้ำก็ว้าวได้

วันที่ 3 ของการเดินทางจะเป็นวันที่อัดแน่นไปด้วยสิ่งน่าตื่นเต้น จริงๆก็น่าตื่นเต้นทุกวันล่ะค่ะ วันที่ 3 ตอนเช้าเราไปกราบสักการะสถานที่ปรินิพพาน สาลวโนทยาน กุสินารา และเดินทางไปยังลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ 2 สังเวชนียสถาน ในวันเดียวกัน

 

แต่ๆๆ ก่อนเราจะไปลุมพินีวันสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ จะมีเรื่องน่างตื่นเต้นที่เราจะไปเจอ 2 ที่นั่นก็คือวัดไทย 960 และด่านชายแดนเสาโนรี อินเดีย เนปาล ตื่นเต้นยังไง จะเล่าให้ฟัง

 

การเดินทางในอินเดียเนี่ย สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้และหลายท่านอาจจะทำใจยอมรับยากก็คือมันหาความงดงามตามสมัยนิยมได้ค่อนข้างยาก อะไรคือความงดงามตามสมัยนิยม อ่าว ก็ลองจินตนาการเวลาไปเที่ยวประเทศอื่นดูค่ะ ทุกอย่างเจริญหู เจริญตา น่าตื่นตาตื่นใจ แม้แต่ไปอินเดียเองแต่ในแถบอื่นเช่น ทัชมาฮาล ชัยปุระ ถ้ำอชันต้า ถ้ำเอลโลร่า มุมไบเอง มันก็ยังมีความน่าตื่นตาตื่นใจจากความเห็นเมืองใหญ่

 

แต่ในเส้นทางสังเวชนียสถานเนี่ย มันมีแต่ทุ่งชา ไร่นา สวนมัสตาร์ด สิ่งที่น่าตื่นเต้นมากๆเลยในส่วนของภูมิประเทศคือแม่นน้ำคงคา !! กว้างใหญ่มากเหลือเกิน พูดมาแลดูไม่น่าไป แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัจธรรมคือ เมืองที่ตั้งของสังเวชนียสถานและเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าสมัยก่อนล้วนเป็นเมืองใหญ่ เมืองเจริญ อย่างไวสาลีที่เราผ่านมา ราชคฤห์ที่ไปกันวันแรกมีแต่ภูเชากับรถม้า หรือสาวัตถีที่เรากำลังจะไป สมัยพุทธกาลคือมหาอำนาจนะคะทุกคน แล้วดูสมัยนี้สิ มีแต่ทุ่งนา

 

ทั้งหมดนี้เหมือนจะไม่มีอะไรน่าสนใจ แต่หากไปแบบรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมา จากความไม่มีอะไรมันจะสนุกและน่าสนใจมากๆเพราะเราไม่ได้ไปกราบซากอิฐ ซากปูน กราบอิฐพังๆสถูปเก่าๆ ทั้งหมดที่ดั้นด้นกันมากราบสักการะเนี่ย คือชีวิต คือช่วงชีวิตที่พระพุทธเจ้าท่านมีท่านใช้ท่านบิรโภคเมื่อ 2500 กว่าปีก่อน ถึงกาลเวลาจะล่วงเลยมาแต่สัจธรรมว่าสิ่งใดๆเจริญล้วนตกต่ำได้ ยังคงอยู่ การมาสังเวชนียสถาน 4 ตำบล จึงไม่ใช่การมาเพื่อกราบอิฐหินดินทราย แต่มาเพื่อมองให้ทะลุอิฐหินดินทรายไปถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าต่างหาก

 

ทุ่งนา ป่าเขา ขี้วัวและการเดินทางที่ไม่ว้าวแต่อาจจะสามารถสอนเราให้ว้าวกับเรื่องเบสิคพื้นฐานในชีวิต อย่างห้องน้ำวัดไทย  ใช่ค่ะ ห้องน้ำวัดไทยตามเส้นทางสังเวชนียสถาน อินเดีย เนปาลเนี่ยแหละคือสิ่งว้าว ว้าวมากๆ เพราะมันดีมากๆค่ะทุกคน

 

ใครฉี่ไม่บ่อยก็เก็บฉี่ไปปล่อยที่ห้องน้ำ ใครฉี่บ่อยก็ต้องไม่แคล้วลงทุ่งข้างทาง ด้วยความระลึกไว้เสมอว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เมื่อใดก็ตามที่เจอห้องน้ำดีๆ สะอาดๆ หอมๆ เมื่อนั้นล่ะคือบุญตูด (อรรถรสนะคะทุกคน)

 

วัดไทย 960 แวะพักระหว่างทางก่อนข้ามด่านเสาโนรี

วัดไทยนวราชย์รัตนารามหรือวัดไทย 960 ยืมคุณยายเป็นแบบหน่อย 

วัดไทย 960 เป็นวัดไทยระหว่างทางที่เราจะแวะกันก่อนถึงด่านเสาโนรี อินเดีย เนปาล โดยพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ) ได้ปรารภว่าน่าจะมีสถานที่ที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกพระสงฆ์และญาติโยมที่มาแสวงบุญได้แวะพักก่อนข้ามด่าน ลองจินตนาการดูประมาณ 10 กว่าปีก่อนที่แถวนี้ไม่มีอะไรเลย กว่าจะเดินทางมาจากกุสินารา แล้วไม่มีที่ให้แวะเข้าห้องน้ำแวะพัก คงจะเหนื่อยไม่น้อยกว่าถึงลุมพินี จึงได้มีการสร้างวัดไทยนวราชย์รัตนารามหรือวัดไทย 960 ขึ้นเมื่อปี 2549 เดินเข้าวัดมาบอกได้เลยว่าว้าวมาก

 

เราแวะที่นี่กันก่อนประมาณ 20 นาที เข้าห้องน้ำ กินชา กาแฟ โรตีกันให้สบายใจแล้วไปต่อกันที่ด่านชายแดนอินเดีย เนปาล เสาโนรี ด่านตรงนี้เป็นด่านออกอินเดีย เข้าเนปาล เป็นการผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองครั้งที่ 2 ในทริปนี้ อ่านมาถึงตรงนี้ให้ลองนึกย้อนกลับไปตอนแรกที่เราบินมาลงคยา เสาโนรี มีอะไรให้ลุ้นอีกเยอะค่ะ

 ฝึกความอดทนที่เสาโนรีได้ มีชัยไปกว่าครึ่ง

อินเดียขึ้นชื่อเรื่องความไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้ามีปราปริก้า ไม่ใช่ล่ะ ด่านเสาโนรีก็เช่นกัน ปีๆนึงกฎเกณฑ์เปลี่ยนไม่รู้กี่ครั้ง แต่ละครั้งลุ้นเอาหน้างาน บางปีทัวร์อินเดียรอบตุลาคมพักกันชิวๆได้ที่ 960 ให้ไกด์ไปยื่นเอกสาร ไม่ต้องแสดงตัวตน พอมารอบพฤศจิกายนทำไม่ได้แล้ว ... อ่าวววว

 

เราก็เลยออกจากวัดไทย 960 ไปรอที่ด่าน หากเจอคณะทัวร์ไม่เยอะเราก็รอแป๊บเดียว เจอเยอะๆหลายบัสก็เม้ามอยกันไปยาวๆบนรถ ใจสบาย อะไรๆก็สบายค่ะ แต่จะฟ้าแจ้งสถานการณ์หน้างานเสมอ ใครปวดฉี่มีห้องน้ำ อยากเดินดูอะไรนิดๆหน่อยๆข้างรถ ไม่ขัดข้องค่ะ แต่ไปไกลไม่ได้นะค๊า เผื่อเค้าเรียกขึ้นมาเราต้องวิ่งปรู๊ดไปที่ด่านทันที

 

พอเราออกจากอินเดีย ก็มาเข้าเนปาลกันต่อ รถมาจอดที่หน้าตม.เนปาล ส่วนนี้ส่วนใหญ่จะไม่นานมากแต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เตรียมใจพร้อมรับสถานการณ์หน้างานดีกว่า วีซ่าเนปาลทำมาแล้วจากกรุงเทพไม่ต้องมาตีหน้าด่าน ประหยัดขั้นตอนไปอีก

 เช้าตาย บ่ายเกิด

พอเราเสร็จจากกระบวนการออกเมืองเข้าเมืองกันแล้ว ก็มุ่งหน้าสู้ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ อยู่ห่างจากชายแดนไม่ไกล แต่ถนนไม่ดีเท่าไหร่ ต้องโขยกเขยกกันไปก็ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม.

 

บริเวณนี้ทั้งหมดในสมัยพุทธกาลอยู่ใกล้เขตของแคว้นสักกะ บ้านเกิดของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาลประเทศแห่งเทือกเขาหิมาลัย อยู่ใกล้เทือกเขาหิมาลัยมากทำให้อากาศที่นี่จะเย็นกว่าเมืองอื่น เมื่อรถเลี้ยวเข้าบริเวณลุมพินีวันเราจะเห็นแนวป่า ลุมพินีวันเป็นอุทยานขนาดใหญ่โดยมีเขตโบราณสถานอยู่ตรงกลาง พื้นที่โดยรอบของลุมพินีวันก็เต็มไปด้วยที่พักเพราะนอกจากชาวพุทธบ้านเรา พระธิเบตก็ไปแสวงบุญที่ลุมพินีแต่ละปีเยอะมากเหมือนกัน

ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ

วิหารมายาเทวี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันมีวิหารสร้างครอบไว้อีกชั้น ด้านในเป็นพื้นยกสูงเหนือซากสถูปดั้งเดิม เราก็จะเดินไปตามทางที่ทางสถานที่จัดไว้ให้ไปจนถึงตรงกลางที่เป็นสถานที่เจ้าชายมีประสูติกาล กราบสักการะสถานที่ตรงนี้ส่วนตัวสักนิด แล้วเราจะออกมาสวดมนต์ทำวัตรเย็นกันตรงเสาอโศกด้านนอกเพราะข้างในเป็นที่ปิดและไม่มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอค่ะ

 

เสาด้านนอกวิหารที่เห็นกันอยู่นี้คือเสาอโศกอีกต้น เป็นหลักฐานการเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าของพระเจ้าอโศกมหาราชสมัยหลังช่วงพุทธกาล ส่วนลุมพินีวัน สถานที่ประสูตินี้เพิ่งถูกค้นพบโดยเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮมเมื่อปี 2434 นี้เองค่ะ

 

เมื่อเราทำการสวดมนต์ทำวัตรเย็น บูชาสถานที่กันแล้ว ก็นั่งสมาธิฝึกจิตกันเสียหน่อย หลังจากนั้นก็ถ่ายรูปเป้นที่ระลึกกัน ยืนยันการมาถึงพุทธสังเวชนียสถาน ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ

 

วันนี้เป็นวันที่เราได้ไปเยือนสังเวชนียสถาน 2 แห่ง เช้าเริ่มต้นที่สถานที่ปรินิพพาน เย็นมาเยือนสถานที่ประสูติ ในการเดินทางครั้งนี้คงไม่มีอะไรจะว้าวมากไปกว่าความจริง สัจธรรมที่ว่า ขนาดพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ผู้เลิศของโลกยังเกิดและดับ แล้วเราจะไปเหลืออะไรกัน แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เกิดมาใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ท่านทำประโยชน์มากมายให้กับลูกหลาน ชี้ทางสว่าง ทางแห่งสัมมาทิฏฐิให้คนรุ่นหลัง

 

เมื่อเราได้เดินทางตามรอยบาทพระศาสดา มาถึงอินเดียแบบนี้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมากในการเห็นในสิ่งที่จะสามารถสร้างความตระหนักรู้ว่า ชีวิตมีค่า เมื่อเกิดแล้วต้องดับ แต่จะดับไปให้ภายภาคภาคหน้าเราเป็นสุข เป็นมงคล ก็ขึ้นอยู่กับปัจจุบันอันมีค่าของเรานั่นล่ะค่ะ

 

วันนี้นอนหลับพักผ่อน พรุ่งนี้เดินทางไปในเส้นทางแห่งการยังตนในความตระหนักรู้กันต่อ ในเส้นทางสังเวชนียสถาน 4 ตำบล กับสะพานบุญทัวร์ค่ะ

เจอกันตอน 3 สวัสดีค่ะทุกคน