ทัวร์อินเดีย พุทธคยา พาราณสี คชุรโห สาญจี 27กพ.-5มีค.2567
ทัวร์อินเดีย
2 สังเวชนียสถาน พุทธคยา พาราณสี + 2 มรดกโลก คชุรโห สาญจี
27 กพ.-5มีค. 2567 8วัน 7คืน
บินตรงคยา Full Service น้ำหนัก30kg+เสริฟอาหารบนเครื่อง
พักวัด 1 เมือง พักโรงแรม 3 เมือง
1. สถานที่เยี่ยมชม : สังเวชนียสถาน 2 ตำบล+คชุรโห สถูปสาญจี
ไปไหว้พระก่อนโซนสังเวชนียสถาน แล้วนั่งรถต่อไปเที่ยวชมมรดกโลก คชุรโหและสถูปสาญจีที่พระเจ้าอโศกสร้าง
- สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 สถานที่ตรัสรู้ : พุทธคยา
- สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 สถานที่แสดงปฐมเทศนา : สารนาถ
- ราชคฤห์ เมืองแรกที่พุทธศาสนาตั้งมั่น สถานที่ตั้งวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา วันเวฬุวันมหาวิหาร
- นาลันทา สถานที่ตั้งอดีตมหาวิทยาลัยนาลันทาที่เคยยิ่งใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและกราบสักการะหลวงพ่อองค์ดำ
- มรดกโลก กลุ่มวัดคชุรโห
- มรดกโลก สาญจี สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช
วัน+สถานที่เยี่ยมชม (โปรแกรมเต็มดูด้านล่างค่ะ)
1. | 27กพ.67 | กรุงเทพ - พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ |
2. | 28กพ.67 | พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา เมืองแรกที่ศาสนาพุทธตั้งมั่น มีวัดแห่งแรกในอินเดีย หลวงพ่อองค์ดำนาลันทา |
3. | 29กพ.67 | พุทธคยา เต็มวัน เยี่ยมชมสถานที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้และสถานที่เสวยวิมุติสุขก่อนออกเดินไปโปรดปัญจวัคคีย์ |
4. | 1มีค.67 | พุทธคยา - พาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา ล่องแม่น้ำคงคา |
5. | 2มีค.67 | พาราณสี - คชุรโห |
6. | 3มีค.67 | คชุรโหเต็มวัน |
7. | 4มีค.67 | คชุรโห - โบปาล (สถูปสาญจี) |
8. | 5มีค.67 | สถูปสาญจี - กรุงเทพ |
2. การเดินทาง
2.1 กรุงเทพ
สายการบิน Thai ไฟลท์ TG 2327 : 12:20-14.00 (น้ำหนักกระเป๋า 30 kgs)
2.2 สาญจี – กรุงเทพ
สายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e2173 : 17:25 - 18:45 (น้ำหนักกระเป๋า 15 kgs)
รอต่อเครื่อง 2 ชม.
สายการบิน Thai ไฟลท์ TG 316 : 00:20- 05:45 น้ำหนักกระเป๋า 30 kgs+อาหาร
2.3 ภายในอินเดีย
ใช้รถบัสส่วนตัวตลอดเส้นทาง (ไม่ต้องเปลี่ยนรถ ของอะไรที่ใช้บนรถเช่นหมอน ผ้าห่ม ของฝากที่ยังไม่ได้แพ็คเอาไว้บนรถได้ ไม่ต้องเอาลงทุกวันค่ะ)
3. ที่พัก : โรงแรม+วัดไทย
- พุทธคยา : วัดเนรัญชราวาส สร้างโดยหลวงพ่อถาวร จิตตวโร อดีตรองเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ดีกว่าหลายโรงแรมในพุทธคยา อาหารไทยดีมากค่ะ
- พาราณสี : Hotel Pinnacle Gate หรือ Prime Land
- คชุรโห : The Bundela หรือเทียบเท่า
- โบปาล : The Fern Residency หรือเทียบเท่า
โรงแรมที่คัดเลือกมาเป็นโรงแรมที่คุ้นเคยกับการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมการกินของชาวต่างชาติเป็นอย่างดีและมารยาทสากล อาหารเป็นอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ
หมายเหตุเรื่องห้องพัก
โรงแรมพัก 2 วัดพักห้องละ 2-3 ท่านค่ะ ฟ้าเข้าใจว่าท่านใดมาด้วยกัน พี่น้อง สามีภรรยาก็อยากพักด้วยกัน เข้าใจจุดนี้มากๆค่ะ จะจัดให้พักด้วยกัน เพราะเคยได้ฟังลูกทัวร์เล่าให้ฟังว่าโดนจับแยกหญิงชายเด็ดขาดถึงแม้ว่าจะมาเป็นคู่ นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมต้องเลือกที่พักอย่างละเอียดกว่าจะทำออกมาได้แต่ละทริปค่า
4. อาหาร
อาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ ส่วนอาหารกลางวันเป็นข้าวกล่องแพ็คจากโรงแรมหรือวัดไทยบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากระหว่างเดินทางมีแต่ร้านอาหารท้องถิ่น อินเดียแท้ๆอาจทานลำบาก จึงแพ็คอาหารกล่องไปแล้วแวะทานระหว่างทาง บางเมืองมีวัดไทยระหว่างทางก็จะแวะพักทานอาหาร เข้าห้องน้ำกันค่ะ
5. ราคา
ท่านละ 58,500 บาท (All Inclusive ไม่ต้องจ่ายเพิ่มจุกจิก + ไม่มีการเก็บค่าทัวร์เพิ่มหน้างาน)
หลายท่านสงสัยว่าทำไมราคาสูง+ใช้เวลาหลายวัน ฟ้าเลือกทุกอย่างเองค่ะ รถ ที่พัก ไกด์และตารางเข้าแต่ละสถานที่ไม่อัด เดินทางระหว่างวัน ถึงเมืองก็เข้าสถูปไปกราบมีเวลาก็ใช้เวลากันในนั้นนานๆ อุตส่าห์บินมาตั้งไกลเนอะ ประกอบกับที่ใช้เวลาหลายวันคือวางวันไว้เผื่อแอคซิเดนท์ ถ้าเกิดอะไรขึ้นเรายังมีเวลาให้ขยับขยายได้บ้าง ถ้าไม่แอคซิเดนท์คือได้ไปที่แถมแน่นอน ไปสังเวชนียสถานฟ้าเชื่อว่าทุกคนตั้งใจไป ในเมื่อตั้งใจ อยากให้ไปทั้งที ไปดีๆให้สมความตั้งใจไปเลย ดีกว่ามานั่งเสียดายเงินค่ะ
ลูกหลานที่เลือกทัวร์ให้สว.ที่บ้านไป ไม่ต้องกังวลใจนะคะ ดูแลให้อย่างดีค่ะ แต่อยากให้พาไปเองดีกว่า ลูกหลานพาคุณพ่อคุณแม่คุณย่าคุณยายไปทัวร์สังเวชนียสถาน มันดีต่อใจจริงๆค่ะ
5.1 ราคารวม
- ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ ไฟลท์ที่ระบุในกำหนดการ
- ค่ารถบัสที่ใช้ในการเดินทางในอินเดีย ค่าเรือลงแม่น้ำคงคา
- ค่าที่พักทุกเมือง // ค่าอาหารทุกมื้อ
- ค่าเข้าชมสถานที่ทุกเมือง (พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัดตามเมืองต่างๆ)
- ค่าประเทศอินเดีย
- ค่าประกันการเดินทางวงเงิน 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตระหว่างการเดินทางและการรักษาอาการอาหารเป็นพิษ 8,000 บาท (ไม่รวมประกันความเสียหายของสิ่งของและประกันสุขภาพ)
5.2 ราคาไม่รวม
- ทิปเจ้าหน้าที่ทัวร์(คนขับรถ เด็กรถ ไกด์อินเดีย เจ้าหน้าที่ยกกระเป๋าของวัด+โรงแรม จัดสรรให้ทุกที่ค่ะ ท่านละ 1,000 บาท / ทั้งทริป
- ค่าน้ำหนักกระเป่าเดินทางโหลดใต้ท้องเครื่องที่เกินกว่าที่ระบุในกำหนดการ
- ค่าทำพาสปอต ค่าเดินในประเทศไทยในวันเดินทางไปและกลับ
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าของฝาก เงินทำบุญ ค่าซิมโทรศัพท์
- ค่าประกันทรัพย์สินเสียหายจากการเดินทาง
สารนาถ สถานี่แสดงปฐมเทศนา
สถูปสาญจี
ยอดเขาคิชกูช ราชคฤห์
กลุ่มโบราณสถาน คชุรโห
โปรแกรมทัวร์อินเดีย 2 สังเวชนียสถาน พุทธคยา พาราณสี+2มรดกโลก คชุรโห สาญจี
วันที่ 1 : 27 กุมภาพันธ์ 2567 กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) - คยา
08.30 น. พบกันที่สนามบินดอนเมือง อาคารผู้โดยสายขาออกระหว่างประเทศประตู 4 สายการบิน Thai Smile
09.00 น. เช็คอินสายการบินไฟลท์ we327 เดินทางสู่สนามบินคยา ใ้ชเวลาเดินทาง 3.20 ชม.
14.00 น. ถึงสนามบินคยา ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบิน
- เอกสารฟ้าจัดการเขียนให้ทั้งหมด ตอนคุณแอร์โอสเตสมาแจกรับเอกสารไว้แล้วนอนต่อได้เลยค่ะ
- ตม.อินเดียที่คยามีประมาณ 4-5 เคาเตอร์ เราอาจใช้เวลาที่ขั้นตอนนี้สักพัก ถือเป็นการรับน้องด่านแรกนะคะ
ผ่านตม.มารับกระเป๋า แล้วเดินทางต่ไปทานกลางวันกันที่วัดเนรัญชราวาส พักผ่อนให้หายเพลียจากการเดินทางแล้วออกไปกราบสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 กันค่ะ
ใช้เวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็น เดินดูรอบๆและกลับมาทานอาหารเย็นพักผ่อนที่วัด เตรียมตัวเพื่อเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าในวัดถัดไป
วันที่ 2 : 28 กุมภาพันธ์ 2567 : พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา
ช่วงเช้า-บ่าย |
ทานอาหารเช้าที่วัดเนรัญชราวาสและออกเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญมากในชีวิตของพระพุทธเจ้า ราชคฤห์แห่งนี้เป็นเมืองแรกในแดนพุทธภูมิที่พุทธศาสนาตั้งมั่นโดยมีพุทธสาวกคนสำคัญคือพระเจ้าพิมพิสาร ปาวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชน ในราชคฤห์จึงมีสถานที่มากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระพุทธเจ้าให้เราได้ศึกษาและกราบสักการะเช่น
ทานกลางวันกันที่วัดไทยสิริราชคฤห์และเดินทางต่อไปที่นาลันทา เมืองใกล้ๆเพื่อไปกราบสักการะ
เรื่องราวเหล่านี้แค่เกริ่นๆค่ะ พอไปถึงสถานที่จริงๆได้ฟังวิทยากรกันเพลินหู ดูข้างทางกันเพลินตาแน่นอนค่ะ |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่วัดเนรัญชราวาส |
วันที่ 3 : 29 กุมภาพันธ์ 2567 : พุทธคยา - พาราณสี
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่เมืองพาราณสี แห่งแคว้นกาสีในสมัยพุทธกาล พาราณสีเป็นเมืองใหญ่ เมืองสำคัญที่ปัจจุบันก็ยังสำคัญอยู่ หลังจากตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ทรงพิจารณาถึงคนที่จะสอนได้ และเล็งเห็นว่าเหล่าปัญจวัคคีย์นี้ล่ะที่มีธุลีในตาน้อยพอจะเข้าใจธรรมที่ทรงค้นพบจึงเดินจากพุทธคยามาพาราณสี พบปัญจวัคคีย์และเทศน์สอนธรรมบทแรก ธัมจักรกัปปวัตรสูตร (เราจะสวดมนต์บทนี้กันที่สถานที่จริง หัดสวดไปได้เลยนะคะ)
หลังจากนั้นพาท่านไปชมวิถีชีวิตชาวอินเดีย ที่ใช้ชีวิตแบบนี้มากว่า 4,000 ปี ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรม Primeland |
วันที่ 4 : 1 มีนาคม 2567 : พาราณสี - คชุรโห
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่เมืองคชุรโห เขตหนึ่งของเมืองฉัตรปุระ รัฐมัธยประเทศ กลุ่มโบราณสถานหรือวิหารคชุรโหอาจจะมีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรมแกะสลักแนวอีโรติกแต่จริงๆแล้วงานแกะสลักเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนเดียวของกลุ่มวิหารที่ตั้งรวมกันในโบราณสถานคชุรโห กลุ่มอนุสาวรีย์หรือวิหารคชุรโหสร้างขึ้นในปี คศ. 885-1000 โดยราชวงศ์จันเทละ (Chandela dynasty) ซึ่งเป็นสายหนึ่งของพวกเจ้าราชปุตแห่งรัฐราชสถานหรือที่เราคุ้นเคยกันคือเมืองจัยปูร์ แต่ตามตำนานกล่าวไว้ว่าจันเทละสืบเชื้อสายมาจากวงศ์พระจันทร์ (ราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียคือวงศ์พระอาทิตย์ พระพุทธเจ้าของเราอยู่สายราชวงศ์นี้และวงศ์พระจันทร์) ราชวงศ์จันเทละเป็นราชวงศ์ที่ปกครองบริเวณอินเดียตอนกลางในยุคหลังราชวงศ์เมารยะของพระเจ้าอโศกประมาณ 800 ปี ซึ่งในช่วงเวลานี้ศาสนาพรามณ์ปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นศาสนาฮินดูแล้ว กลุ่มอนุสาวรีย์คชุรโหเป็นวัดในศาสนาฮินดูและศาสนาเชน ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นวิหารทำพิธีบูชาเทพเจ้าและเป็นสถานที่ศึกษาของวรรณะพรามณ์ตามหลักอาศรม 4 ตามบันทึกการเดินทางของพระภิกษุเสวียนจ้างหรือพระถังซัมจั๋ง กล่าวว่า ในบริเวณมัธยประเทศหรือที่คลุรโหและบริเวณใกล้เคียงนี้ มีวัดพุทธถูกละทิ้งมากมายและมีวัดฮินดูบริเวณใกล้เคียงที่มีพรามณ์กำลังประกอบพิธีบูชา จึงเป็นหลักฐานว่าพุทธศาสนาขยายตัวมาที่มัธยประเทศเช่นกันก่อนที่จะเสื่อมสลายหายไปจากอินเดีย ซึ่งหลักฐานสำคัญคือสถูปสาญจีที่เราจะไปเยือนในวัดถัดไป ตามหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีระบุว่า พื้นที่จริงกลุ่มวิหารคชุรโหมีถึง 85 วัดในพื้นที่ 1,200 ไร่ แต่ปัจจุบันมีเหลือเพียง 20 วิหารเท่านั้นที่มีสภาพสมบูรณ์ กลุ่มโบราณสถานคชุรโห ถูกค้นพบโดยวิศวกรชาวอังกฤษ ที.เอส. เบิรต์ ในปี คศ.1838 และได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี คศ.1986 |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรม |
วันที่ 5 : 2 มีนาคม 2567 : คชุรโหเต็มวัน
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปชมกลุ่มโบราณสถาน มรดกโลกคชุรโห |
วันที่ 7 : 4 มีนาคม 2567 : คชุรโห - โบปาล
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่เมืองสู่โบปาล เมืองที่ตั้งสถูปสาญจี สถูปที่สร้างโดยพระเจ้าอโศก แห่งราชวงศ์เมารยะ เป็นหลักฐานสำคัญทางศาสนาพุทธทั้งทางโบราณคดี สถาปัตยกรรม ศิลปะและจารึก กลุ่มสถูปสาญจีเป็นสถูปทรงกลมคว่ำ ตั้งอยู่บริเวณเนินเข้าหมู่บ้านสาญจี เมืองโบปาลเมืองหลวงของแคว้นมัธยประเทศ โดยมัธยะหรือมัธยมแปลว่ากลางสถูกสาญจีนี้ตั้งอยู่ในกลางประเทศอินเดีย แต่ในสมัยราชวงศ์เมารยะ ที่นี่คือจุดสำคัญ เป็นเมืองผ่านด้านการค้าของอินเดียส่วนกลางไปทางเหนือ ออกไปยังเอเชียกลางสู่เส้นทางสายไหมผ่านช่องทางประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สถูปสร้างขึ้นในช่วงประมาณ 300 ปีก่อนคริสตศักราชในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เชื่อกันว่าถูกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ถูกขุดค้นและจัดสรรใหม่โดยพระเจ้าอโศก ลักษณะโครงสร้างของมหาสถูปสาญจีประกอบด้วยส่วนสถูปอิฐสร้างครอบพระบรมสารีริกธาตุตรงกลางเรียกว่าอัณฑะ (แปลว่าไข่หรือของทรงกลม) ส่วนรั้วโดยรอบเรียกว่าเวทิกา มีทางเดินโดยรอบสถูปส่วนอัณฑะเพื่อประทักษิณ(ประทักษิณา)และซุ้มประตูเรียกว่าโตรณะ โดยจุดเด่นของมหาสถูปคือส่วนโตรณะที่สร้างเสริมขึ้นมาภายหลัง อัดแน่นไปด้วยพุทธศิลป์และจารึก ซึ่งมีคุณูปการต่อการศึกษาพุทธศาสนาในยุคหลังงานแกะสลักบนโตรณะประกอบไปด้วยเรื่องพุทธประวัติและชาดกมากมายและจารึกบนซุ้มประตูทางทิศใต้มีข้อความ |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรม |
มหาสถูปสาญจี สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช
วันที่ 8 : 5 มีนาคม 2567 : สถูปสาญจี - กรุงเทพ
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปชมสถูปสาญจี สายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e2173 : 17:25 - 18:45 (น้ำหนักกระเป๋า 15 kgs) รอต่อเครื่อง 2 ชม. สายการบิน Thai ไฟลท์ TG 316 : 00:20- 05:45 น้ำหนักกระเป๋า 30 kgs+อาหาร |
บ่าย | เดินทางไปสนามบินเช็คอินสายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e2173 เดินทางสู่นิวเดลี สนามบินอินทิรา คานธี |
21.00 น. | เช็คอินสานการบิน Thai ไฟลท์ TG 316 |
00:20 น. | ออกเดินทางกลับบ้านเรา |
05:45 น. | ของวันที่ 6มีค. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานครโดยสวัสดิภาพ |
หมายเหตุ เกี่ยวกับการเดินทางและอาหาร
อินเดียเป็นประเทศที่สามารถมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้สูง ดังนั้นการแพลนโปรแกรมทุกรอบ ฟ้าจะเผื่อเวลาสำหรับสิ่งนี้ เช่นการวันแรกที่ต้องผ่านตม.ที่พุทธคยาคือเผื่อเวลาเอาไว้เลย ถ้าเข้าต้นโพธิ์ไม่ได้วันนี้ยังมีเวลามาเก็บวันอื่น และด้วยเหตุความไม่แน่นอนสูงนี้เอง โปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ตามเหตุปัจจัยได้ตลอดเวลาตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัย และความเหมาะสม โดยยึดถือผลประโยชน์ของญาติธรรมเป็นหลักค่ะ ไม่มีการตัดสถานที่แน่นอน แต่อาจจะสลับก่อนหลัง เช้าเย็นประมาณนี้ค่ะ ฟ้าเข้าใจว่าทุกคนตั้งใจไป ดังนั้นจะพาไปให้ครบเพื่อให้สมความตั้งใจค่ะ
เรื่องอาหารการเดินทางตามเส้นทางสังเวชนียสถานเป็นการเดินทางในระยะทางพอสมควรและระหว่างทางไม่มีร้านอาหารตามแบบสากลที่เหมาะสมกับคนไทยเพราะเมืองสังเวชนียสถานตั้งอยู่ในเมืองต่างจังหวัด ความเจริญแบบที่เราคุ้นเคยกันหาแทบจะไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะลำบากอะไรขนาดนั้นค่ะ ในส่วนของการทานอาหารจึงมีความจำเป็นต้องทานอาหารแบบแพ็คกล่องจากวัดไทย(ในบางวัน)เพื่อความปลอดภัยด้านสุขลักษณะอนามัยของทุกคนค่ะ