ตอนที่ 6 : ทัศนคติเกี่ยวกับคนอินเดียเจ้าของประเทศ การปฏิบัติตัวและการวางใจในการไปกราบสักการะสังเวชนียสถาน
ทัศนคติเกี่ยวกับคนอินเดียเจ้าของประเทศ การปฏิบัติตัวและการวางใจในการไปกราบสักการะสังเวชนียสถาน
พระพุทธเจ้ายอมรับในความหลากหลาย มีพระสงฆ์มาขอบัญญัติพระวินัยให้เหมาะสมกับสภาพประเทศท่านก็อนุญาต และศาสนาพุทธก็มีการแยกแนวทางการปฏิบัติหรือที่เราเข้าใจนิกายกันมาตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพานไม่นาน ที่สำคัญคือศาสนาพุทธแผ่ขยายไปไกลมากมายหลายประเทศด้วยการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เป็นนิกาย แนวปฏิบัติ สีจีวรที่แตกต่างกันมากมาย วัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อสืบสานงานของพระพุทธเจ้า
การไปทัวร์แสวงบุญ สังเวชนียสถาน เราจะได้เห็นความหลากหลายของชาวพุทธจากทั่วโลกและความน่าตื่นตาตื่นใจของเจ้าของประเทศ เราจะวางใจอย่างไรให้การไปครั้งนี้ปีติใจที่สุด ได้ชาตแบตรับพลังงานดีๆจากสังเวชนียสถานเต็มที่ บทความนี้มีคำตอบค่ะ
Q : เจองูกับแขกให้ตีแขกก่อนจริงหรือ ?
A : คนไม่ดี เอาเปรียบ ทุศีล มีอยู่ทุกที่ในโลกค่ะ ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นคนอินเดีย แต่สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ก็คือแต่สัญชาติเขาจะมีเอกลักษณ์ อัตลักษณฺแต่วัฒนธรรมที่แตกต่างการการค้าขายของคนอินเดียก็จะแตกต่างจากคนญี่ปุ่น การทักทายของคนอินเดียก็จะแตกต่างจากคนยุโรปคนอินเดียหน้าตาดูดุ ไม่ได้พิมพ์นิยมแบบที่คนไทยชอบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะใจร้ายหรือนิสัยไม่ดีจนต้องไปตีเขาหรือกลัวไปเสียหมดว่าเขาจะมาโกงเรา เรามาทัวร์แบบผู้ดู มาเห็นแป๊บเดียวไม่นาน ไม่ได้คลุกคลี ไม่ได้ใกล้ชิด สัมผัสกับเขาๆเจ้าของประเทศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การซื้อของ เงินอยู่ในมือเราหากเราไม่พอใจก็ไม่ต้องจ่ายค่ะ เขาจะมาบังคับเอาเงินจากเราไม่ได้หรอกค่ะ
Q : คนจนเยอะมาก จะโดนขอทานรุม
A : อินเดียมีประชากรพันกว่าล้านคนและเป็นประเทศที่มีระบบวรรณะคือการแบ่งชนชั้นกันตามชาติกำเนิดซึ่งเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนและรุนแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพอเราไปถึงประเทศเขาเราจะโดนรุมขอทันที เมืองเขามีการจัดระเบียบอยู่พอสมควร ในส่วนที่เราไปจะเป็นโซนสถานที่ท่องเที่ยว ที่อาจจะมีน้องๆ มาขอ คนมาเดินขายของ น้องฟ้ารับรองว่าไม่อันตรายค่ะ
Q : ลักษณะนิสัยทั่วไปของคนอินเดีย
A :อย่างที่กล่าวไปลักษณะนิสัยของคนอินเดียไม่สุภาพโค้งสุดตัวเหมือนคนญี่ปุ่นญี่ปุ่นหรือเฟรนด์ลี่ยิ้มให้ how are you ตลอดเวลาเหมือนอเมริกาแน่นอน มันอาจจะมีอะไรบางอย่างของเขาที่เราขัดหูขัดตา แต่กรุณาวางใจเป็นกลาง อย่าไปโกรธอะไรเลยนะคะ
ลักษณะเด่นๆของคนอินเดียคือ
- ทำงานช้า ค่อยๆเดิน เช่นตม.ที่คยา ค่อยๆพลิกทีละหน้า แสตมป์เล่มนึงเสร็จหันไปคุยกับเพื่อน หัวเราะกันนิดหน่อยหันมารับเล่มต่อ
- ไม่ช้าไปเลยก็เร่งไปเลย “NEXT” พร้อมทำหน้าบึ้งเป็นเชิงเร่ง
- หน้าดุ+บึ้งและเสียงดัง แต่ไม่ได้ใจร้ายอะไรนะคะ หน้าดุเฉยๆ
- ชอบจ้องและมาขอถ่ายรูป
- แซงคิวเป็นปกติ อย่าหงุดหงิดค่ะ แซงกลับ ยืนยันว่าฉันมาก่อน
- การตะโกนหรือขึ้นเสียงใส่กันคือเรื่องปกติ
- การชี้หรือใช้ภาษามือที่เรามองว่าไม่สุภาพคือเรื่องปกติของเขาที่ช่วยในการสื่อสาร
- ส่ายหัวนิดนึงแปลว่าใช่ โอเค ผ่าน ไปได้
- นำเสนอสินค้าโดยการยื่นมาจนจะโดนหน้าคือวิธีการขาย สนใจมั้ยล่ะ สินค้าดีนะ ดูสิๆ
- จอดรถคุยกันหรือด่ากันกลางถนนคือการเรื่องปกติมากถึงมากที่สุด
- ภาษาอังกฤษสำเนียงฮินดี(ภาษากลางของเขา) ฟังยากมากถึงมากที่สุด ไม่เข้าใจร้อง “ฮ๊ะ”หรือ “slowly” ดังๆเขาจะรู้ว่าอ่อไม่เข้าใจ พูดใหม่
- ขับรถหวาดเสียว เลี้ยวเร็วและสวนเลน คือเรื่องปกติ ในฐานะที่เราอยู่บนรถ คนขับทำเพื่อให้เราถึงที่หมายโดยเร็ว ให้กำลังใจและช่วยเหยียบเบรกค่ะ โดยทั่วไปปลอดภัยนะคะ ไปมา 10 ปีไม่เคยเจออุบัติเหตุค่ะ คัดเลือกคนขับอย่างดี
นี่คือตัวอย่างที่เราอาจจะเจอตามสถานที่ที่เราไปเช่นพ่อค้า เจ้าหน้าที่เฝ้าประตู แต่บุคคลากรที่คัดเลือกมาอำนวยความสะดวกทุกคนคุ้นเคยกับคนไทยและเข้าใจว่าอะไรควรทำหรือไม่ค่ะ
Q : ให้เงินขอทานได้หรือไม่?
A : หากตอบในแง่โครงสร้างการให้เงินน้องๆ เด็กๆที่มาขอตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆอาจจะเป็นการส่งเสริมให้น้องรับรู้ตามประสบการณ์ของน้องเองว่า การเรียนหนังสือไม่ได้ได้เงินทันทีอย่างการมาขอหรือตามนักท่องเที่ยว แต่ตามประสบการณ์ก็มีน้องๆขอทานที่ช่วยคุณพ่อคุณแม่วรรณะศูทรหรือคนนอกวรรณะทำงานด้วยการขอทานจริงๆ ดังนั้นน้องฟ้าคงไม่สามารถตอบฟันธงได้ว่าควรให้หรือไม่ให้ ขอให้ทุกท่านพิจารณาตามความเหมาะสมนะคะ ส่วนตัวจะเลือกให้เด็กๆที่มาช่วยงาน ช่วยถือลำโพงพระอ.วิทยากรหรือที่วิ่งตามคณะเห็นกันบ่อยๆ หรือที่ดูน่าสงสารมากๆจริงๆ หากเป็นน้องๆที่แต่งตัวดีพอสมควร น่าจะเป็นเด็กๆที่ไม่ยอมไปเรียนแต่มาตามคณะทัวร์มากกว่า อันนี้ก็เลือกจะบอกน้องๆว่า ไปเรียนเถอะจ้า
Q : ในแต่ละสถานที่ สังเวชนียสถาน จะเอาดอกไม้ธูปเทียนไปกราบ ปิดทองได้หรือไม่
A : สังเวชนียสถานแต่ละที่เป็นโบราณสถานซึ่งได้รับการรักษาดูแลจากกองโบราณคดีอินเดียหรือภายใต้การดูแลของรัฐนั้นๆ บางที่เจ้าหน้าที่จัดสถานที่ไว้เพื่อจุดธูปเทียนบูชา เราสามารถจุดธูปเทียนบูชาบริเวณที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ได้ แต่ขอเสนอความคิดเห็นว่า ไม่มีการเคารพบูชาใดที่ประเสริฐไปมากกว่าการรักษาศีล 5 ตั้งตนเป็นพุทธศาสนิกชนตามที่พระพุทธเจ้าชี้ทางค่ะ แค่เพียงเราตั้งใจเดินทางไกลมากราบสักการะสถานที่และศึกษาสภาพแวดล้อมที่เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนา เพียงเท่านี้ก็เป็นการเคารพบูชาสูงสุดแล้วค่ะ ตั้งจิตตั้งใจให้ดีนะคะ
Q : จะปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องปิดวาจา สงบเสงี่ยมแค่ไหน กลัวไปล่วงเกินหรือบูชาไม่ดีจะไม่ได้บุญ
A :ภาพลักษณ์และภาพจำของทัวร์แสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน แลดูเป็นทัวร์สายบุญ ปฏิบัติธรรม ชื่อก็ชัดเจนอยู่ว่าเราไปแสวงบุญแต่คำสอนแรกที่พระพุทธเจ้าสอนคือทางสายกลางค่ะ ทรมานตัวเองก็ไม่บรรลุ ใช้ชีวิตเสพสุขอย่างเดียวก็ห่างไกลจากการบรรลุ คำถามคือทางที่ดีที่ทำให้ฆราวาสผู้ครองเรือนอย่างเราเข้าใกล้การบรรลุหรือเส้นทางเจริญที่จะต่อยอดไปสู่การบรรลุคืออะไร ตรงไหนคือความพอดีกันล่ะ ? คำตอบส่วนตัวคืออยู่ตรงที่เราตั้งตนอยู่ในความสบายใจ ไม่เบียดเบียนและถูกที่ถูกเวลาค่ะ ตามหลักธรรมของผู้ครองเรือนหลักๆที่พระพุทธเจ้าสอนก็คือศีล 5 และมรรค 8 หนทางแห่งความเจริญ 8 ประการและจิปาถะอย่างอื่นที่เป็นหลักสากลเช่นความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ ความกตัญญู ซึ่งน้องฟ้าเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คือความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นในทุกๆที่ไม่ได้จำกัดว่าต้องแยกsessionใส่ชุดขาวปฏิบัติธรรม เราสามารถมีสติรู้ตัวและตั้งใจในเรื่องดีๆง่ายๆเช่นการไม่เบียดเบียน ไม่ตบยุง หรือช่วยเหลือคน หมา แมวที่ต้องการความช่วยเหลือได้ หรือแม้แต่การแยกขยะก็ทำให้พี่ๆคนเก็บขยะทำงานง่ายขึ้น ทั้งหมดคือการดำเนินชีวิตในความชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ที่ถูกคิด ถูกพิจารณามาแล้วว่าเราจะดำรงตนอย่างไร ซึ่งน้องฟ้ามองว่านี่คือการปฏิบัติธรรมค่ะ การเข้าวัด การใส่ชุดขาวหรือแม้กระทั่งการนั่งสมาธิ ทุกอย่างคือวิธีการ(method) ทั้งสิ้น ซึ่งหากเราสามารถดำรงตนให้อยู่ในศีลได้ ไม่เบียดเบียน ไม่เอาเปรียบ ทำหน้าที่ให้ดีได้ นั่นคือเราปฏิบัติฆราวาสธรรมอยู่ตลอดแล้ว
จริงอยู่ที่การสังเวชนียสถานคือสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า สังเวชนียสถาน 4 ตำบลเป็นการไปแนวทัวร์แสวงบุญหรือปฏิบัติธรรม แต่อย่าลืมว่าเราเป็นฆราวาสและมีความแตกต่างหลากหลายกันเป็นธรรมดา บางคนสวดมนต์เก่ง บางคนไม่เก่ง ทั้งหมดนี้คือความหลากหลายที่เดินไปในทางเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าชี้นำไว้ได้ด้วยกันทุกคน
ในฐานะชาวพุทธ เราเดินทางไปเยี่ยมชมและกราบสักการะสังเวชนียสถาน สถานที่จริงประวัติศาสตร์ที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีและในเชิงคัมภีร์คือถูกกล่าวถึงไว้ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ของศาสนาพุทธ ถูกบันทึกหรือกล่าวถึงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรตอนหนึ่ง มหาปรินิพพานสูตร เป็นพระสูตรใหญ่ที่เล่าเกี่ยวกับช่วงชีวิตพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพาน เหตุการณ์เริ่มต้นที่เขาคิชกูช ราชคฤห์ การเดินทางในทัวร์สังเวชนียสถานคือการตามรอยพระพุทธเจ้าทั้งเชิงโบราณคดีและคัมภีร์
กรุณาอย่ากลัวหรือเกร็งจนทำอะไรไม่ถูก จะกราบได้มั้ย จะต้องกราบตลอดหรือไม่ หากสงสัยจะบาปหรือ ? สำหรับมนุษย์ปุถุชน ฆราวาสผู้ครองเรือน ความสบายกาย สบายใจ ไม่ถูกกดดันบีบคั้น เป็นเรื่องที่ประเสริฐแล้วค่ะ น้องฟ้าอยากให้ทุกท่านไปแบบสบายๆเป็นธรรมชาติ ด้วยใจเคารพศรัทธาในสถานที่และคำสอนของพระพุทธเจ้า วางใจเป็นกลางในการพบเจอกับวัฒนธรรมที่แตกต่างของคนอินเดีย ไปในฐานะชาวพุทธผู้ดู ผู้เรียนรู้ ลดความคิดในเชิงตัดสินไปก่อนล่วงหน้าหรือตั้งธงไว้ว่าใครถูกผิด
ศาสนาพุทธมีพัฒนาการมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเริ่มแสดงปฐมเทศนาที่สารนาถ ยิ่งในช่วงหลังปรินิพพานก็มีการเปลี่ยนแปลง แยกแนวคิด แยกสำนักไปจนมาเป็นพุทธศาสนาหลากหมายนิกาย หลากหลายแนวปฏิบัติดังที่เราเห็นในประเทศอื่น เช่น ธิเบต ญี่ปุ่นหรืออินเดียเอง ดังนั้นไม่ว่าบุคคลที่เราพบเจอจะเป็นนิกายใด วางใจให้เป็นกลาง วางใจสบายๆ เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของผู้คนมากมายในโลกนี้ค่ะ