ทัวร์แสวงบุญ อินเดีย ตามรอยพระพุทธเจ้า ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบลไปสถานที่ใดบ้าง

ทัวร์แสวงบุญ อินเดีย สังเวชนียสถาน 4 แห่งคือการเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าไปในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับท่านใน 4 เมืองของอินเดียและเนปาล 

สังเวชนียสถาน 4 ตำบลเป็นสถานที่ต้นกำเนิดพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย

  1.     ลุมพินีวันหรือรุมมินเด สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
  2.     พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  3.     สารนาถ พาราณสี (ธัมเมกขสถูป) สถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า
  4.     สาลวโนทยาน กุสินารา สถานที่ปริพพานของพระพุทธเจ้า

ก่อนจองทัวร์แสวงบุญสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ไปไหว้พระที่อินเดีย เนปาล มาทำความรู้จักสถานที่เหล่านี้ในเมืองของพระพุทธเจ้าที่อินเดียกันก่อนค่ะ

สังเวชนียสถาน 4 แห่ง มีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องอะไรกับพุทธศาสนา

อย่างที่ทราบสังเวชนียสถาน 4 แห่งนั้นเป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ท่านประสูติที่ลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในเนปาล จนถึงตอนที่ท่านดับขันธ์ปรินิพพาน ที่สาวโนทยาน กุสานารา ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย

          สังเวชนียสถาน 4 ตำบล มีความสำคัญอย่างมาก โดยถูกกล่าวถึงในพระไตรปิฎกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญและโดดเด่นมากก็คือในมหาปรินิพพานสูตร ใจความว่า

          ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน 4 แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นไฉน คือ

1. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ

2. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ

3. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ

4. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้

 

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ (ความตอนหนึ่งจากมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก)

 

สังเวชนียสถาน ลุมพินีวัน : สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

 

ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

ลุมพินีวันหรือชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่าลุมมิเด สมัยพุทธกาลตั้งอยู่ที่แคว้นสักกะ ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล ลุมพินีวันอยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจระหว่างเมืองพ่อของพระพุทธเจ้าคือกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะและเทวทหะ แคว้นโกลิยะ (การปกครองสมัยพุทธกาลแยกประเทศหรือส่วนการปกครองเป็นแคว้นๆ) 2 วงศ์นี้คือศากยะวงศ์และโกลิยะวงศ์จะแต่งงานข้ามกันไปมาระหว่าง 2 ตระกูลเนื่องจากถือเรื่องความบริสุทธิ์ของสายเลือด

อ้าว แล้วทำไม ไปคลอดกลางทาง ?

ก็เพราะอินเดียสมัยพุทธกาลมีธรรมเนียมว่าฝ่ายหญิงที่แต่งงานออกเรือนไป หากมีครรภ์จะกลับไปคลอดที่บ้านฝ่ายหญิง แต่กรณีนี้ เดินทางไปไม่ทันจะถึงเทวทหะ บ้านเกิดของพระนางสิริมหามายา เกิดเจ็บท้องจะคลอดกลางทางระหว่างแวะพักที่ลุมพินีวันพอดี

ลุมพินีวันจึงเป็นสังเวชนียสถาน สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ หนึ่งในหมุดสำคัญจาก 4 สังเวชนียสถานที่เราต้องไปให้ได้คณะทัวร์มักเดินทางเข้าจากทางด่านเสาโนรี ชายแดนระหว่างอินเดีย เนปาล โดยมีเมืองตั้งต้นมาจากสองเมืองคือกุสินารา ใช้เวลาเดินทางจากกุสินาราประมาณ 3-5ชม. และสาวัตถี ใช้เวลาเดินทางจากสาวัตถี 4-6ชม. 

สังเวชนียสถาน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา : สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

 สังเวชนียสถานสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้

 

ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้สมัยพุทธกาลตั้งอยู่ในบริเวณเมืองที่ชื่อว่า อุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดียแคว้นมคธเป็นหนึ่งในแคว้นใหญ่ เจ้าแคว้นคือพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ซึ่งต่อมาปาวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชน เมืองหลวงคือราชคฤห์และที่ราชคฤห์นี้เองที่เป็นเมืองที่พุทธศาสนาตั้งมั่นเป็นแห่งแรกในสมัยพุทธกาล

สังเวชนียสถาน สถานที่ตรัสรู้นี้อยู่ในเมืองคยา แต่แยกออกมาเป็นเขตพุทธคยา เรียกได้ว่าเป็นชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่วุดแห่งหนึ่งของอินเดียเลยก็ว่าได้ แต่ละปีมีชาวพุทธและผู้สนใจจากทั่วโลกหลั่งไหลไปที่พุทธคยาเป็นจำนวนมาก การเดินทางก็ง่ายกว่าแต่ก่อน มีสนามบินคยา อยู่ไม่ไกลจากตัวพุทธคยา เดินทางเพียง 30 นาทีก็เข้าเขตต้นโพธิ์แล้วค่ะ

หลังจากเอาชนะมารและตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ในช่วงแรกพระพุทธเจ้าท่านมีจิตน้อมไปในทางที่จะไม่สั่งสอนแต่ท้าสักกะเทวราชก็มานิมนต์ท่านไว้ ท่านจึงตัดสินใจเผยแผ่พระธรรมคำสอน โดยเล็งเห็นว่าบุคคลที่จะสามารถเข้าใจธรรมที่ท่านค้นพบได้คือเหล่าปัญจวัคคีย์ 

ปัญจวัคคีย์คือพรามณ์ที่ติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ คอยอุปัฏฐากดูแลพระโพธิสัตว์ แต่เมื่อทรงค้นพบว่าการบำเพ็ญทุกรกริยาไม่ใช่ทางบรรลุจึงเลิกเสียและหันกลับมาบริโภคอาหารเหมือนเดิม จุดนี้ ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์เข้าใจไปว่าทรงมักมาก ยอมแพ้ในการบำเพ็ญ จึงหลีกเร้นหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นกาสี สังเวชนียสถานแห่งต่อไป

 สังเวชนียสถาน ธัมเมกขสถูป สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า

สังเวชนียสถานสี่ ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา

 

สถานที่แสดงปฐมเทศนาในสมัยพุทธกาลอยู่ในแคว้นกาสี ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตระประเทศ ประเทศอินเดีย แคว้นกาสี เป็นแคว้นเก่าแก่ เมืองหลวงทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือชื่อเดิมคือพาราณสี เป็นเมืองเดียวในอินเดียที่แต่ก่อนเรียกอย่างไร สมัยนี้ก็เรียกอย่างนั้น

เมืองพาราณสีแคว้นกาสีนี้ เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 คือธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา ปัจจุบันบริเวธัมเมกขสถูปเป็นลาน โบราณสถานกว้างใหญ่ แต่ในสมัยก่อนสถนที่นี้รวมถึงบริเวณใกล้เคียงคือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  หรือป่าสวนกวางแหล่งศูนย์รวมฤาษีผู้ปฏิบัติธรรม 

เมื่อพระพุทธเจ้าเดินทางมาพบปัญจัคคีย์และแสดงธรรม จนท่านอัญญาโฏณฑัญญะบรรลุธรรมเป็นคนแรก โดยธรรมบทแรกที่พระพุทธเจ้าเทศน์แสดงคือ ธัมจักกัปปะวัตนสูตรนั่นเอง

นอกจากเหล่าปัญจัคคีย์ทั้ง5 จะบรรลุธรรมและออกบวชแล้ว ยังมีท่านยสะ ซึ่งเป็นลูกชายมหาเศรษฐีอีกหนึ่งท่าน ที่เดินมาพบกับพระพุทธเจ้า ได้โอกาส ฟังธรรมและออกบวช อีกทั้งชักมีกลุ่มเพื่อนของท่านอีกหลายสิบคนและบัดนั้นเอง องค์สัมมาสมเด็จพระพุทธเจ้าได้เริ่มงานเผยแผ่ศาสนา โดยให้พระสงห์สาวกที่ทรงบวชให้ที่ป่าอิสิปตนมฤทายวัน เดินจาริกไปต่างทิศกันเพื่อโปรดสัตว์โลกที่สามารถสั่งสอนได้ มีธุลีในตาน้อย งานประกาศศาสนาก็เริ่มนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สังเวชนียสถาน สาลวโนทยาน กุสินารา : สถานที่แสดงปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

 

สังเวชนียสถาน สถานที่ปรินิพพาน กุสินารา

สังเวชนียสถานแห่งสุดท้ายนี้ในสมัยพุทธกาลตั้งอยู่ในแคว้นมัลละ ปัจจุบันตั้งอยูในรัฐอุตระประเทศ หลังจากทรงดำเนินงาน เผยแผ่ศาสนา จาริกไปเพื่อประกาศธรรม สั่งสอนสัตว์ เกิดพระสูตรมากมายในทุกๆสถานที่ที่เสด็จไป จนเวลาล่วงเลยมาถึง45พรรษา ก็ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน โดยเดินทางมาเพื่อเสด็จดับขันธ์ ณ สาลวโนทยานเมืองกุสินารา กุสินารานี้ชื่อเดิมกุสาวดี ปกครองโดยพระเจ้ามหาสุทัสนะ ซึ่งก็คือพระองค์เมื่อครั้งยังเสวยภพเสวยชาติอยู่

 

          สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของทั้งชาวพุทธและผู้สนใจประวัติศาสตร์ หลั่งไหลกันมากราบสักการะและชมสถานที่ทุกปี แน่นอนว่าสักครั้งในชีวิตของพุทธศาสนิกชนชาวไทย การได้ไปกราบสักการะสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่อินเดียและเนปาล ย่อมเป็นสิริมงคลในชีวิตอย่างแน่นอนค่ะ